18. การเที่ยววิเวก

ธรรมเทสนา ชุด โอวาทหลังปาติโมกข์
หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี

๑๘. การเที่ยววิเวก
วันที่ ๒๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๗

อย่าไปคิดว่าอดอยาก ลําบากอย่างนั้นอย่างนี้ ต้องการฝึกหัดทดลองทรมานตนเอง การทดลองฝึกหัดตนเองนี้ ไม่มีใครทําให้หรอก นอกจากเราทําเอง การทําความเพียรมันต้องบังคับตัวเอง

ออกพรรษาแล้ว ฝนแล้งก็มีการเที่ยววิเวกหาวามสงบสงัด ไปหาวิเวกก็ดีเหมือนกัน อยู่ ที่เก่าก็ลําบาก เราก็หาวิเวก หาความสงบ เพื่อทรมานตนแล้วก็สังเกตว่า มันสงบไหม? เห็น แก่การหาอยู่หากิน เห็นแก่ความสนุกสบายไม่ได้ วิเวกมันต้องหาความสงบทุกสิ่งทุกประการ หากว่าไม่มีใครอยู่ด้วยอยู่คนเดียวดีที่สุด เพื่อจะทดลองดู เรามาบวชก็โอกาสนี้แหละ ที่จะได้ทําความเพียรภาวนาหาวิเวก ไปด้วยกันหมู่มากต่างคนต่างยุ่งหลายเรื่องกัน คนนั้นพูดอย่างนั้น คนนี้พูดอย่างนี้ คนนั้นก็เป็นอย่างนั้น คนนี้ก็เป็นอย่างนี้ สารพัดทุกอย่างที่จะฟังกัน ความคิดเห็นมันแตกต่างกัน อยู่คนเดียวทําคนเดียวเอาเฉพาะตนเลย

การเที่ยววิเวกให้รู้จัก กิจวัตร ก่อนที่จะไปต้องตั้งใจ ตั้งอธิฐานในใจของตนว่า เราจะทําความเพียรภาวนา กิจวัตรเราอาจจะทําเป็นเหมือนอย่างอยู่ในวัดไม่ได้ทุกข้อ แต่ว่าเอาเท่าที่จําเป็น การทําความสะอาดปัดกวาดเอาเฉพาะที่เราทําได้ สําหรับที่ส้วมที่ถ่ายต้องทํา ถ้าหากว่าเราจะอยู่หลายวันก็ให้เขาทําส้วมให้ ทําความสะอาดเอง

การออกบิณฑบาต ต้องทําให้สม่ําเสมอ การฉันก็เหมือนกัน ให้มันสม่ําเสมอ ในขณะที่เราบิณฑบาตต้องระมัดระวังสังวรทุกอย่าง ต้องมีสติรอบคอบรอบรู้ตลอดเวลา การที่จะเดินจงกรมภาวนาเป็นการจําเป็นที่สุด บางคนนั้นบวชเข้ามาตั้ง ๒ พรรษา ไม่เคยเดินจงกรมเลยก็มี การภาวนาไม่เดินจงกรม ไม่ทราบว่าอยู่ได้อย่างไร ไม่ใช่นิสัยของผม ผมก็ไม่รู้เรื่องพูดไม่ถูก

การทําความเพียรอย่างที่อธิบายมานี้ เป็นเครื่องอยู่ของพระกัมมัฏฐาน หรือของพระทั่วไป ถ้าหากไม่ทําอย่างที่ว่านี้แล้ว ไม่ทราบจะอยู่ทําไมกัน อยู่ไปสักหน่อยก็จะคิดไปทาง โลก คิดไปทางกามคุณ ยุ่งเหยิงใหญ่โต หากพิจารณาอย่างที่ว่านี้ มันเป็นวิเวกอยู่ในตัว มันเป็นคุณธรรมอยู่ในตัว เราอยู่ในศาสนามีศีลเป็นเครื่องอยู่ มีศีลเป็นพื้นฐาน กัมมัฏฐานทั้งหลายเหล่านั้นให้พิจารณาลงเป็นผลของพื้นฐานของศีล ครั้นมีศีลเป็นหลักฐานอยู่แล้ว พิจารณาสิ่งเหล่านั้นก็เป็นไปตามเรื่อง แล้วคราวนี้ก็พิจารณาเห็นคุณ คุณของศีล คุณของสมาธิ คุณของปัญญา

คุณของศีล นั้นคือ ศีลห้า ศีลแปด ศีลสิบ ศีลสองร้อยยี่สิบเจ็ด เป็นฆราวาสมันยากนักที่จะรักษา ถึงอย่างนั้นพระก็เห็นอยากสึก ไม่เห็นคุณค่าของศีล ศีลเป็นของประเสริฐเลิศ ล้ํากว่าสิ่งทั้งปวงหมด เหตุนั้นชาวบ้านเขาจึงเคารพนับถือพระ เขาเคารพนับถือบูชาพระ เพราะพระเป็นผู้มีศีลมากกว่าเขา สมบูรณ์มากกว่า เป็นพื้นฐานของมรรคผลนิพพานก็ตัวศีลนี่แหละ คิดพิจารณาถึงศีลอย่างนี้แล้วอิ่มอกอิ่มใจจะหาที่ไหนได้สมบูรณ์บริบูรณ์อย่างพระ พระเท่านั้นแหล่ะที่จะสมบูรณ์บริบูรณ์ด้วยศีล

นอกจากนั้นอีก เมื่อเรารักษาศีลนี้ อานิสงส์อันที่เห็นคุณค่าของศีล เป็นเหตุให้ศรัทธา ญาติโยมเขาทําบุญทําทาน ไม่คิดเสียดายในการที่ทําบุญทําทาน มีเท่าไรก็ทําหมดตัว แต่ถ้า หากว่าผู้คิดพิจารณาถึงศีล เห็นคุณค่าของศีล แล้วไม่คิดโลภ ถ้าคิดโลภไม่ใช่คุณของศีล คิดโลภอยากจะให้เขาเลื่องลือชื่อเสียงให้เขาเคารพนับถือ อันนั้นไม่ใช่คุณของศีล อันนั้นเป็นโทษเลย มีศีลก็จริงแต่เป็นโทษ คนที่ตั้งอกตั้งใจรักษาศีลสมบูรณ์บริบูรณ์ มีศีลเป็นวัตร ปราศจากความโลภ ไม่คิดถึงเรื่องลาภสักการะ อันนั้นแหละตัวอานิสงส์ของศีลแท้

ศีลสมบูรณ์แล้วเป็นอย่างไร? มีศีลเป็นพื้นฐานมีอานิสงส์คือ ทําสมาธิให้เกิดขึ้น

สมาธิ คือ จิตแน่วแน่เป็นอันเดียว ธรรมดาจิตมันฟุ้งซ่านส่งส่ายสารพัดทุกอย่าง มันไม่รวมอยู่กับที่ มันไม่รวมอยู่กับใจ การที่พิจารณาอย่างเดียวแน่วแน่ลงเรื่องศีล จิตเห็นชัดเรื่อง คุณค่าของศีล มันเลยไม่ส่งส่ายไปในเรื่องทั้งหลาย ตั้งมั่นเฉพาะในเรื่องเดียว นั่นแหละเป็นสมาธิเกิดขึ้นจากศีล หากว่าเราพิจารณาสิ่งอื่นก็เหมือนกัน พิจารณาถึงเรื่องอะไรทั้งปวงหมด จิตมันแน่วแน่อยู่ในอารมณ์อันเดียว ไม่ฟุ้งซ่านไปที่อื่น มีอารมณ์อันเดียวแล้วเป็นสมาธิ

สมาธินี้ หากว่าเกิดขึ้นบางครั้งบางคราวมันก็อ่อนๆ เรียกว่า ขณิกะสมาธิ อุปจาระสมาธิ ไปตามเรื่อง มันได้เป็นครั้งเป็นคราว มันไม่แน่วแน่เต็มที่ ในเมื่อมันได้เป็นครั้งเป็น คราวก็ยังดีอยู่ จิตมารวมอยู่เป็นครั้งเป็นคราว ก็เรียกว่าเห็นตัวจิตนับว่าเป็นการดีที่สุด เห็นจิตของเราส่งส่าย จิตของเราวุ่นวาย จิตของเราคิดอารมณ์ต่างๆ นับว่าดีที่สุดแล้วนั่น เราจะได้ปรารภความเพียร เราจะได้พยายามต่อสู้ เราจะได้พยายามแก้ไข ดีกว่าที่ไม่เห็นเลย ผู้ที่ไม่เห็นเลยนั้นไม่ทราบว่าจะแก้ไขตรงไหน ถ้าหากว่าเป็นเช่นนั้นแล้ว เมื่อจิตมันฟุ้งซ่านไปในอารมณ์ใด ก็พิจารณาในอารมณ์นั้น แล้วจึงจะเห็นชัดว่ามันเป็นเพราะเหตุใด? มันเกิดจากอะไร? มันประสงค์อะไร? ครั้นเมื่อพิจารณาถึงจิตอย่างนี้แล้ว จิตมันจะวางเรื่องที่คิดเลย ให้ตามกําหนดรู้เรื่องของมัน แล้วมันหายเอง แล้วมันก็จะรวมเป็นเอกัคคตา สมาธิแน่วเต็มที่ ครั้นสมาธิแน่วแน่เต็มที่ให้มันอยู่อย่างนั้นพักหนึ่ง มันจะอยู่ได้นานมากน้อยเท่าไรก็ให้มันอยู่ไป

หากว่ามันออกจากนั้นแล้ว ถ้ามันฟุ้งซ่านส่งไปยังอารมณ์ต่างๆ ก็ตามดูมันมันจะไปถึงไหน มันจะไปไหนมันก็อยู่กับเรานี้แหละ เราเป็นคนเห็นคนรู้อยู่เฉพาะเห็นมันไปอยู่นี่ รู้ตัว เฉพาะตนเอง ให้กําหนดอย่างเก่า คือเป็นเหตุเป็นผล มันเป็นเพราะเหตุใด? มันพิจารณาของมันเอง เหตุใดมันยังส่งส่าย? เหตุใดมันยังวุ่นวาย มันประสงค์อะไร? ต้องการอะไร? มันเกิดจากอะไร? เมื่อเข้าใจเรื่องแล้วมันก็หายเอง หายส่งส่ายวุ่นวาย ทีหลังจิตไปอีก ก็ทําเหมือนกันนี้

การทําให้หายได้อย่างนี้ ทําได้ตลอดทุกเมื่อ มันค่อยชํานิชํานาญเข้า คราวนี้การที่มันส่งส่ายเลยเป็นของสบาย ส่งไปเถิด ไปไหนก็ไปเถิด ธรรมดาจิตมันต้องเป็นของไม่ใช่ของอันเดียว มันของวุ่นวาย แต่เราพิจารณารู้เรื่อง ตามรู้อย่างที่เราเคยพิจารณา มันก็สบาย นี่ เรียกว่า ธัมมาอนัตตา ธรรมะไม่ใช่ของใคร มันให้เกิดเป็นอยู่ของมัน จิตอันนั้นมันเกิดอยู่อย่างนั้น ธรรมอันนั้นมันเกิดอยู่อย่างนั้น เป็นปัญญาเกิดขึ้นในตัว นั่นแหละ ปัญญาเกิดจากสมาธิ เป็นอย่างนั้น

อย่าไปท้อถอย ไหนๆเราก็ตั้งใจต่อสู้ สู้มันจนถึงที่สุด ทําอย่างง่ายๆ อย่างที่พูดให้ฟัง มันวุ่นอะไร? มันส่งส่ายอะไร? มันกังวลอะไร? เกี่ยวข้องกับเรื่องอะไร? มันจะไปไหนไป เราไม่ไป จะอยู่ที่นี่ มันจะไปไหนล่ะ ให้มันไปดู ลองให้มันไปจนถึงที่สุด มันถึงไหน มันเลวทรามต่ำช้าถึงอเวจีไหม? ถ้ามันถึงอเวจี ให้มันถึง ลองดูอย่างนั้นแล้ว มันก็หายน่ะซี มันกลัวอเวจี มันเลยหยุด เอาอย่างง่ายๆ อย่างนั้นแหละ ผจญต่อสู้เอาอย่างง่ายๆ เท่านั้นละ

ถ้าคิดโลภไม่ใช่คุณของศีล คิดโลภอยากจะให้เขาเลื่องลือชื่อเสียงให้เขาเคารพนับถือ อันนั้นไม่ใช่คุณของศีล อันนั้นเป็นโทษเลย มีศีลก็จริงแต่เป็นโทษ

[จบ โอวาทหลังปาติโมกข์ 18. การเที่ยววิเวก]