เกี่ยวกับ

หลวงปู่เทสก์
เกี่ยวกับหลวงปู่เทสก์
เราสามารถรู้จักพระเดชพระคุณหลวงปู่เทสก์ได้ จากการอ่าน อัตตโนประวัติ ซึ่งท่านเขียนเล่าเอง รวมถึงจากการศึกษาหมวดธรรม ข้อวัตรปฏิบัติต่างๆ ทั้งที่บันทึกเป็น หนังสือ และ ไฟล์เสียงเทศน์ เมื่อเราศึกษาและปฏิบัติธรรมตามคำสั่งคำสอนของท่านโดยตรง ก็จะได้เข้าถึงธรรมอันเอกเดียวกันนั้น สำหรับ รูปหลวงปู่เทสก์ นั้น ท่านไม่สนับสนุนให้เราไปสนใจ สนใจธรรมะดีกว่า
เกี่ยวกับเวป

รวบรวมธรรมเทสนาบางส่วน ของ หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี จัดทำในรูปแบบที่เน้นเพื่ออ่าน. ข้อมูลส่วนใหญ่เก็บกู้ขึ้นมาจาก web-cache และที่มี saved ไว้ จากเวปเดิมที่มีมาก่อน คือ thewayofdhamma.org ซึ่งปิดตัวไป (ไม่ทราบสาเหตุ) ในราวต้นปี พ.ศ.๒๕๕๕ (2012). ส่วนเวปวัดหินหมากเป้ง hinmarkpeng.org ปิดตัวไปก่อนแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๕๒ (2009).

ชื่อ tesray มาจาก เทสรังสี โดยสะกด ‘เทส’ ด้วย tes และ ‘รังสี’ ทับศัพท์ว่า ray. ทางเวปไม่มีนโยบายนำธรรมเทสนาของหลวงปู่เทสก์ทั้งหมดมาลง ทำได้เพียงแค่บางส่วนเท่านั้น มุ่งหวังเพื่อเป็นแบบอย่างแก่ชาวพุทธรุ่นหลัง ให้มีโอกาสได้รู้แนวทางการปฏิบัติที่ถูกต้อง โดยศึกษาเทียบเคียง พิจารณาเรียนรู้ กระทั่งตรวจสอบตนเอง มิให้หลงไปกับแนวทางการเจริญสติและสมาธิที่ผิดเพี้ยนไร้ผล.

เกี่ยวกับการรักษาธรรมะครูบาอาจารย์

แม้ว่าในปัจจุบัน (บันทึกเมื่อปลายปี พ.ศ.๒๕๕๖ (2013)) ผลงานทางธรรมจำนวนหนึ่งของหลวงปู่เทสก์ ยังมี available อยู่ แต่ก็อยู่ในลักษณะกระจัดกระจายตามเวปต่างๆ. อีกทั้ง ไฟล์หนังสือของหลวงปู่เทสก์ ที่มีแจกกันอยู่นั้น เป็นไฟล์ pdf ซึ่งผู้ใช้งานทั่วไปโดยมากไม่ทราบว่า ไฟล์ pdf ไม่ใช่มาตรฐานสำหรับเก็บงานเอกสารสำคัญ เพราะไม่ใช่ opensource แต่เป็นสินค้าที่ผูกติดขึ้นตรงกับ Adobe ในกรณีเอกสาร MS Word ก็เช่นกัน เป็นของที่ขึ้นตรงกับ MS

และที่สำคัญคือไฟล์มีวันหมดอายุ คือรุ่นของไฟล์ตอนที่ save ถ้าไม่มีการนำเอกสารนั้นๆมาทำการ resave เพื่อ update version เป็นระยะๆ ต่อไปในอนาคต มีโอกาสที่จะไม่สามารถเปิดไฟล์นั้นได้อีกโดยง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าระยะเวลาผ่านไปนาน และมีการปรับปรุงข้ามรุ่นแบบ major upgrade อาจมีปัญหา compatibility issues. ข้อเสียอีกอย่างหนึ่ง คือ เอกสาร pdf เก่าๆ มักมีปัญหาไม่สามารถ copy ตัว text ภาษาไทยออกมาใช้งานได้ เพราะมีปัญหาเรื่อง encoding และ font ที่ใช้ embed ณ เวลานั้น. สำหรับโลก academic ยุคใหม่ ซึ่งให้คุณค่าของการเผยแพร่ภูมิปัญญาความรู้ งานเอกสารอะไรก็ตาม ที่ไม่สามารถ copy text ออกมาได้ งานนั้นๆ ถือได้ว่าเป็นงานที่ตายแล้ว คือหยุดจบประโยชน์แค่ตรงนั้น ไม่สามารถนำไปพัฒนาต่อยอดได้.

ชนิดไฟล์ที่ถูกต้อง สำหรับใช้เก็บงานเอกสารสำคัญ ให้สามารถอยู่ได้นานแบบข้ามชั่วอายุคน คือ plain text (*.txt) ซึ่งเป็น OS independent เปิดใช้งานได้กับทุก platform และไม่ require ว่า ผู้ใช้งานจะต้องมีโปรแกรมพิเศษเฉพาะจากบริษัทใดเพื่อที่จะเปิดเอกสาร .txt อีกทั้ง ในเมื่อมาตรฐานการสื่อสารหลักของโลก คือ www ดังนั้น วิธีที่ดีที่สุดสำหรับการดำรงรักษาธรรมะของครูบาอาจารย์ คือการนำข้อมูลจัดเก็บลงเป็นเวป โดยใช้ encoding เป็น unicode ด้วย charset=UTF-8 เพื่อ ensure future compatibility ที่สุด.

หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ผู้ที่เกี่ยวข้องในการดูแลผลงานทางธรรมของหลวงปู่เทสก์ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงาน หรือภาคส่วนไหนก็ตาม จะมีความจริงจังทำหน้าที่ เล็งเห็นความสำคัญในการ preserve and provide กล่าวคือ ทำ index ผลงานต่างๆเรียงตามปีจัดตามชนิด เช่น หนังสือ หรือไฟล์เสียงเทศน์ เป็นต้น และ make available ในรูปแบบที่สาธารณชนสามารถเข้าถึงได้ทันที เพื่อคนรุ่นนี้ และรุ่นลูกหลานต่อไปในอนาคต.

เกี่ยวกับการศึกษาธรรมะ

ในการศึกษาธรรมะ ข้อควรคำนึงเป็นเบื้องต้น คือพระพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมนั้น ครั้นแล้วทรงแสดงมรรคและปฏิปทา เพื่อประโยชน์สุขแก่หมู่สัตว์ ให้รู้แจ้งวิชชา ละทุกขสมุทัย ทำนิโรธให้แจ้งได้. พระอริยสงฆ์สาวก ต่างดำรงรักษาทรงไว้ ซึ่งหลักธรรมและข้อวัตรปฏิบัติ สืบต่อกันมาสองพันกว่าปีแล้ว เราจึงได้มีโอกาส รู้ธรรมถึงมรรคถึงผล อย่างเดียวกันนั้น.

ด้วยเหตุดังนี้ เราจึงควรศึกษาธรรมะ ด้วยความ “รู้คุณ” และใช้ธรรมะนั้น ให้สมประโยชน์ถูกต้องตามที่เป็นจริง เป็นอุชุปฏิปันโน ปฏิบัติตรงตามทางแห่งอริยมรรค ใช้ความรู้ในธรรม เพื่อปฏิบัติฝึกฝน อบรมพัฒนาตน จนรู้แจ้งวิมุตติ พ้นจากสังโยชน์ในภพเป็นที่สุด. มิใช่ นำความรู้ความจำในหลักธรรมไปใช้เพื่อจุดประสงค์อื่นๆ.